วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Center)


                1. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
                    วิธีสอนนี้ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา หลักใหญ่อาศัยวิธีการสอนที่ใช้แก้ปัญหาของนักเรียน โดยครูเป็นผู้ชี้แนะเท่านั้น วิธีการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ทุกประการคือ
                        - กำหนดขอบเขตของปัญหา (Location of Problem)
                        - ตั้งสมมติฐาน (Setting of Hypothesis)
                        - ทดลองและรวบรวมข้อมูล (Experimenting and Gathering of Data)
                        - วิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) 
                        - สรุป (Conclusion)

                2. วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing)
                    แสดงบทบาททตามสมมติขึ้นเทียบเคียงกับสภาพที่เป็นจริงหรืออแสดงออกตามแนวที่คิดว่าควรเป็น ช่วยให้เกิดความสนใจ ฝึกความกล้าที่จะแสดงออก 
                
                3. วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
                    วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ เป็นการสอนโดยนำหลักวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นโอกาสให้นักเรียนได้ค้นพบปัญหาและวิธีการแก้ไข 

                4. วิธีสอนตามขั้นที่ 4 ของอริยสัจ (Buddist's Method)
                    ขั้นต่าง ๆ ของอริยสัจสี่   =  ขั้นต่าง ๆ ของวิธีการปัญหา หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์                                                                             Reflective Thinking
                                          ทุกข์         =  กำหนดปัญหา
                                          สมุทัย       =  การตั้งสมมติฐาน
                                          นิโรธ         =  การทดลองและเก็บข้อมูล
                                          มรรค         =  การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุป

                5. วิธีการสอนแบบทดลอง (The Laboratory Method)
                    วิธีการสอนแบบทดลอง มีลักษณะคล้ายกับวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ แต่มีการปรับปรุงหลักการบางส่วนเพื่อความเหมาะสมกับการเรียนวิชาอื่น ๆ 

                6. วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
                    เป็นการสอนแบบการเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างครูกับนักเรียน

                7. วิธีการสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching)
                    เป็นนวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) ได้ฝึกทักษะการสอนแบบใหม่ ๆ ขณะการสอนมีการบันทึกภาพ เพื่อให้ครูได้ดูการสอนของตน เพื่อปรับปรุงทักษะให้ดีขึ้นก่อนนําไปใช้จริงในชั้นเรียน

                8. วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method)
                    เป็นการสอนที่ให้นักเรียนเป็นหมู่หรือรายบุคคลได้วางโครงการ และดําเนินงานให้สําเร็จตามโครงการนั้น เป็นการสอนที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริง

                9. วิธีสอนแบนหน่วย (Unit Teaching Method)
                    เป็นวิธีการสอนที่นําเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน ไม่ยึดขอบเขตรายวิชาแต่ถือเอาความมุ่งมั่นของหน่วยเป็นหลัก

                10. วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)                  
                    เป็นการเอาสื่อมาใช้ โดยแบ่งบทเรียนออกเป็น 4 - 6 กลุ่ม แต่ละศูนย์ประกอบกิจกรรมแตกต่างกันออกไปตามที่กำหนดไว้ในชุดการสอน แต่ละกลุ่มจะมีสื่อการเรียนที่จัดไว้ในซองหรือในกล่องวางบนโต๊ะ เป็นศูนย์กิจกรรม แต่ละกลุ่มหมุนเวียนกันประกอบกิจกรรมตามศูนย์ต่าง ๆ แห่งละ 15 - 20 นาที จนครบทุกศูนย์

                11. วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) 
                    สื่อการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล

                12. บทเรียนโมดูล (Module)
                    บทเรียนโมดูลเป็นบทเรียนหน่วยหนึ่ง เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนที่สร้างขึ้น

                13. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
                    สื่อการสอนเป็นเทคโนโลยีระดับสูง ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนคอมพิวเตอร์มีปฏิสัมพันธ์กัน

                14. การสอนซ่อมเสริม
                    จัดการเรียนการสอนเพิ่มแก่นักเรียนที่มีระดับสติปัญญาต่ำ เรียนไม่ทันเพื่อน ขาดความคิดรวบยอดหรือจัดการเรียนเพิ่มแก่นักเรียนที่เก่ง ฉลาด เพื่อได้รับความรู้เพิ่มขึ้น

                15. หมวกแห่งความคิด (The Six Thinking Hats)
                    "ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน" เป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดเรื่อง Lateral Thinking (การคิดนอกกรอบ) และเป็นคนพัฒนาเทคนิคการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และได้พัฒนาเป็นแนวคิดที่เรียกว่า "Six Thinking Hats" ซึ่งเป็นวิธีคิดที่มีมุมมองแบบ "รอบด้าน" ความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้บริหาร เพราะนอกจากจะช่วยสร้างสิ่งใหม่ ๆ แล้วยังช่วย ในการคิดค้นกลยุทธ์แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่ง "เดอ โบโน" พบว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่ หรือสร้างขึ้นมาได้ แต่จะต้องมาฝึกกระบวนการสร้างความคิดดังกล่าว ในแต่ละวันตั้งแต่ตื่นนอน ทุกคนย่อมต้องมีการคิดในเรื่องต่าง ๆ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน จึงได้ให้เทคนิค “6 หมวกการคิด” เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมี ประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีการดังกล่าวได้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งบริษัทข้ามชาติอย่างเช่นบริษัท ไอบีเอ็ม และเซลส์ เป็นต้น หมวกแต่ละใบเป็นการนำเสนอทางเลือกที่เป็นไปได้ตามมุมมองต่าง ๆ ของปัญหา โดยวิธีการสวมหมวกทีละใบในแต่ละครั้ง เพื่อพลังของการคิดจะได้มุ่งเน้นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะทำให้ความเห็นและความคิดสามารถแสดงออกได้อย่างอิสระ สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่จำเป็นได้ และยังเป็นการดึงเอาศักยภาพของแต่ละคนมาใช้โดยที่ไม่รู้ตัว

Six Thinking Hats สูตรบริหารความคิดของ "เดอ โบโน" จะประกอบด้วยหมวก 6 ใบ 6 สี คือ

               White Hat หมวกสีขาว สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น คือ ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้นๆ ไม่ต้องการความคิดเห็น
               Red Hat หมวกสีแดง สีแดงเป็นสีที่แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึก เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ
               Black Hat หมวกสีดำ สีดำ เป็นสีที่แสดงถึงความโศกเศร้า และการปฏิเสธ เมื่อสวมหมวกสีนี้ ต้องพูดถึงจุดด้อย อุปสรรคโดยมีเหตุผลประกอบ ข้อที่ควรคำนึงถึง เช่น เราควรทำสิ่งนี้หรือไม่ ไม่ควรทำสิ่งนี้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทำให้การคิดมีความรอบคอบมากขึ้น
               Yellow Hat หมวกสีเหลือง สีเหลือง คือสีของแสงแดด และความสว่างสดใส เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายถึง การคิดถึงจุดเด่น โอกาส สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลในเชิงบวก เป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
               Green Hat หมวกสีเขียว สีเขียว เป็นสีที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
               Blue Hat หมวกสีน้ำเงิน สีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบ จะเป็นเหมือนท้องฟ้า หมวกนี้เกี่ยวกับการควบคุม การบริหารกระบวนการคิด หรือการจัดระเบียบการคิด

               16. การสอนแบบ 4 MAT
                   ประยุกต์มาจากแบบใยแมงมุม 4 ขั้นตอน หรือ ใช้กับผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ
               ขั้นที่ 1 Why (ทำไม) เพื่อตั้งคำถามกระตุ้นให้เด็กสนใจในเรื่องที่เรียน
               ขั้นที่ 2 What (อะไร) เป็นการอธิบายความเข้าใจการจัดการศึกษาด้วยตนเอง
               ขั้นที่ 3 How (ทำอย่างไร) เป็นการนำไปปฏิบัติ การนำไปใช้
               ขั้นที่ 4 If (ถ้า...) เป็นการกระตุ้น

               17. แผนการสอนแบบ CIPPA
                    แผนการสอนแบบ CIPPA เป็นแผนการสอนที่ใช้กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 5 ด้าน ได้แก่
                         C หมายถึง Construct คือการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยกระบวนการแสวงหาข้อมูล ทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ ตีความ แปลความ สร้างความหมาย สังเคราะห์ข้อมูลและสรุปข้อความ
                         I  หมายถึง Interaction คือ การให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เรียนรู้จากกันแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดและประสบการณ์แก่กันและกัน
                         P  หมายถึง Participation คือการให้ผู้เรียนมีบทบาท มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากที่สุด
                         P หมายถึง Process หรือ Product คือการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน ข้อความที่สรุปได้
                         A หมายถึง Application คือการให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
               18. การสอนแบบ Storyline
                   การเรียนรู้แบบ Story line เป็นการสอนวิธีหนึ่งที่ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตจริง ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ไตร่ตรอง รวมทั้งกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าควรทำ ไม่ควรทำ ควรเชื่อ ไม่ควรเชื่อ อันจะนำไปสู่การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สิ่งดีสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการใช้หลักสูตรบูรณาการเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การมีส่วนร่วมของผู้เรียนเอง ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้คุณค่าและสร้างผลงานได้ผลการเรียนรู้มีความคงทน เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิธีดังกล่าวเป็นผลการค้นพบของสตีฟ เบลล์ และแซลลี่ ฮาร์ดเนส (Steve Bell and Sally Hardness) นักการศึกษาชาวสก็อต ซึ่งสตีฟเบลล์ เรียกว่า การจัดการเรียนรู้ที่เป็นสตอรี่ไลน์ (Story line approach) และยังเรียกว่าวิธีสตอรี่ไลน์ (Story line method)


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น