การวัดและประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้สอน ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนใช้เป็นวิธีการในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้สอนได้ว่า ได้ดำเนินการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมาย หรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการวัดและประเมินผลได้เป็นอย่างดี
การวัดเป็นกระบวนการเชิงปริมาณในการกำหนดค่าเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะของสิ่งที่วัดโดยอาศัยกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ส่วนคำว่า การประเมินผล เป็นการตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่าของวัตถุสิ่งของโครงการการศึกษาพฤติกรรมการทำงานของคนงานหรือความรู้ความสามารถของนักเรียน
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561
แผนการจัดการเรียนรู้ หรือในปัจจุบันใช้คำว่าแผนการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งหมายถึงแนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน หรือแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายของการศึกษา ครูหรือผู้สอนอาจจะต้องปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้โดยยึดความคิดรวบยอด จุดประสงค์ของการเรียนรู้ หรือผลลัพธ์ของการเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นหลัก ดังนั้นในการทำแผนการจัดการเรียนรู้หรือในการปรับปรุงการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ดีผู้สอนจะต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ในหลาย ๆ ด้านได้แก่ ด้านความรู้ และเทคนิควิธีตลอดจนการนำสื่อมาใช้เป็นต้น
ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
1. มีความเหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาตลอดจนปรัชญาของโรงเรียนด้วย
2. พิจารณากำหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
3. มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับกาลเวลา สภาพความต้องการและความเป็นจริงของท้องถิ่นเพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนยิ่งขึ้น
4. มีการจัดลำดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกัน พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่าให้สอดคล้องสัมพันธ์กันโดยตลอด
5. พิจารณากำหนดการใช้เวลาที่จะทำการสอนแต่ละเรื่อง แต่ละหัวข้อให้เหมาะสม โดยใช้วิธีวิเคราะห์ หลักสูตรเป็นแนวทางในการกำหนดการใช้เวลา
6. ควรมีการกำหนดกิจกรรมและประสบการณ์ โดยคำนึงถึงวัยของผู้เรียน สภาพแวดล้อม กาลเวลา ความสนใจของผู้เรียน และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน รวมทั้งการใช้แหล่งวิทยาการท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์แก่การเรียนการสอนได้อย่างคุ้มค่า
ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
1. มีความเหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาตลอดจนปรัชญาของโรงเรียนด้วย
2. พิจารณากำหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
3. มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับกาลเวลา สภาพความต้องการและความเป็นจริงของท้องถิ่นเพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนยิ่งขึ้น
4. มีการจัดลำดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกัน พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่าให้สอดคล้องสัมพันธ์กันโดยตลอด
5. พิจารณากำหนดการใช้เวลาที่จะทำการสอนแต่ละเรื่อง แต่ละหัวข้อให้เหมาะสม โดยใช้วิธีวิเคราะห์ หลักสูตรเป็นแนวทางในการกำหนดการใช้เวลา
6. ควรมีการกำหนดกิจกรรมและประสบการณ์ โดยคำนึงถึงวัยของผู้เรียน สภาพแวดล้อม กาลเวลา ความสนใจของผู้เรียน และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน รวมทั้งการใช้แหล่งวิทยาการท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์แก่การเรียนการสอนได้อย่างคุ้มค่า
องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
1. กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่จะสอน
2. หัวเรื่อง
3. ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ
4. จุดประสงค์หรือผลลัพธ์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
5. เนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้
6. กิจกรรมการเรียนการสอน
7. สื่อการเรียนการสอน
8. ประเมินผล
9. หมายเหตุ
รูปแบบของแผนการเรียนรู้
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ สามารถจัดกลุ่มตามลักษณะต่าง ๆ ได้ 2 ลักษณะดังนี้
1. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะการเขียน
2. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะของการใช้
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นเสมือนแผนที่ในการเดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้ ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องวางแผนการจัดกิจกรรม จะต้องมีความเข้าใจถึงหลักสูตรรายวิชา ธรรมชาติของรายวิชา ทักษะเฉพาะรายวิชาที่ผู้สอนจะต้องสอดแทรกเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระการเรียนรู้ที่ครูจะต้องสอนแล้ว โดยทั่วไปส่วนใหญ่ผู้สอนมักจะเน้นเพียงแต่สาระการเรียนรู้ พยายามเร่งสอนเพื่อให้จบตามเป้าหมาย ของระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน โดยยังไม่ได้คำนึงถึงผู้เรียนว่ากิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนมีความเหมาะสมเพียงใด ผู้เรียนบรรลุและสามารถปฏิบัติสิ่งที่ครูตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่เราถ่ายทอดมากน้อยไปเพียงใด ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่จะให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจในการจัดหน่วยการเรียนรู้จากนั้นจึงนำหน่วยการเรียนรู้มาวิเคราะห์เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ย่อย ๆ ได้ตามขั้นตอนดังนี้
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
การวางแผนการสอนสามารถกระทำได้ 2 แนว คือ การวางแผนระยะยาว และการวางแผนระยะสั้น
1. การวางแผนระยะยาว หมายถึง การวางแผนการสอนที่ยึดหน่วยการสอนซึ่งครอบคลุมเนื้อหาสาระค่อนข้างกว้าง ต้องใช้เวลาในการสอน เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เป็นภาคเรียนหรือเป็นปี ด้วยการทำเป็นโครงการสอน ซึ่งเรียกตามหลักสูตรเก่า หรือหลักสูตรใหม่ เรียกว่ากำหนดการสอนนั่นเอง
2. การวางแผนระยะสั้น หมายถึง การวางแผนการสอนของบทเรียนแต่ละเรื่อง ให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ผู้สอนที่ดีจำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าในการสอนทุกเรื่อง การวางแผนของผู้สอนอาจทำในรูปแบบต่าง ๆ กัน และอาจเรียกว่าบันทึกการสอนตามหลักสูตรเก่าหรือแผนการสอนแต่ในปัจจุบันสถานศึกษาทุกแห่งก็ยังคงใช้คำว่าแผนการสอน ให้ใช้คำว่าแผนการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรียนรู้แทนซึ่ง สถานศึกษาบางแห่งก็ยังคงใช้คำว่าแผนการสอนอยู่ เพราะสร้างความเข้าใจง่ายเป็นแผนที่ครูเป็นผู้จัดทำออกแบบและใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้
ความหมายของกำหนดการสอน
การกำหนดการสอนเป็นการเตรียมการสอนล่วงหน้าของผู้สอนในระยะยาว สำหรับวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยกำหนดเนื้อหาสาระที่จะต้องดำเนินการสอนในระยะเวลาต่าง ๆ เช่น การกำหนดการสอนตลอดทั้งปี ตลอดเทอม และตลอดสัปดาห์ ดังนั้นการกำหนดการสอนจึงอาจแบ่งได้ 3 ชนิดคือ
1. กำหนดการสอนรายปี
2. กำหนดการสอนรายภาค
3. กำหนดการสอนรายสัปดาห์
การกำหนดการสอนต้องคำนึงถึงกำหนดวันปิดและเปิดภาคเรียนวันหยุด วันสำคัญต่าง ๆ การหยุดเรียนในวันที่มีกิจกรรมพิเศษ ตลอดจน การกำหนด วันสอบย่อย สอบปลายเทอม การกำหนดการสอน เปรียบเสมือนการกำหนดตารางเวลา การดำเนินการสอนของผู้สอน การกำหนดเวลาและเนื้อหาสาระที่สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม โดยกำหนดเรื่องใดตอนใด ต้องสอนก่อนหลัง ใช้เวลาแต่ละเรื่องมากน้อยเท่าใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสอนทันตามกำหนดที่ต้องการ
การกำหนดการสอนนี้จะทำแบบรายปี รายภาค รายสัปดาห์ ก็สามารถจัดทำร่วมกันได้โดยจะเป็นรูปแบบอย่างไรก็ได้ตามความเหมาะสมและผู้สอนเห็นสมควร
หลักการทำกำหนดการสอน
ผู้สอนควรทำแผนการสอนของกรมวิชาการ หรือแผนการสอนแม่บทกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเขียนไว้เพียงย่อ ๆ หรือคร่าว ๆ มาพิจารณาหัวข้อเป็นหัวข้อย่อย บางหน่วยต้องเพิ่มเติมต้องนำไปทำแผนการสอนอย่างละเอียดอีกครั้ง ดังนั้นการทำกำหนดการสอนก็เพื่อให้ผู้สอนกำหนดแนวทางในการสอนตลอดปี หรือตลอดภาคการเรียนว่า จะสอนอย่างไรให้เนื้อหากับเวลาในการสอนสัมพันธ์กัน การทำกำหนดการสอนสามารถทำได้โดย
1. ผู้สอนที่สอนในระดับเดียวกันมาร่วมกันพิจารณาด้วย
2. ช่วยกันสำรวจจำนวนคาบที่จะสอนในแต่ละหน่วยว่าเหมาะสมหรือไม่
3. นำหัวข้อแต่ละหัวข้อย่อยมากำหนด ในการกำหนดการสอนโดยให้สัมพันธ์กับเวลาหรือจำนวนคาบที่ใช้สอนโดยพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
4. พิจารณาจำนวนคาบเวลาในแต่ละสัปดาห์ของแต่ละวิชาให้สัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างเวลาเรียนกับเนื้อหาแต่ละหัวข้อ
1. การวางแผนระยะยาว หมายถึง การวางแผนการสอนที่ยึดหน่วยการสอนซึ่งครอบคลุมเนื้อหาสาระค่อนข้างกว้าง ต้องใช้เวลาในการสอน เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เป็นภาคเรียนหรือเป็นปี ด้วยการทำเป็นโครงการสอน ซึ่งเรียกตามหลักสูตรเก่า หรือหลักสูตรใหม่ เรียกว่ากำหนดการสอนนั่นเอง
2. การวางแผนระยะสั้น หมายถึง การวางแผนการสอนของบทเรียนแต่ละเรื่อง ให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ผู้สอนที่ดีจำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าในการสอนทุกเรื่อง การวางแผนของผู้สอนอาจทำในรูปแบบต่าง ๆ กัน และอาจเรียกว่าบันทึกการสอนตามหลักสูตรเก่าหรือแผนการสอนแต่ในปัจจุบันสถานศึกษาทุกแห่งก็ยังคงใช้คำว่าแผนการสอน ให้ใช้คำว่าแผนการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรียนรู้แทนซึ่ง สถานศึกษาบางแห่งก็ยังคงใช้คำว่าแผนการสอนอยู่ เพราะสร้างความเข้าใจง่ายเป็นแผนที่ครูเป็นผู้จัดทำออกแบบและใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้
ความหมายของกำหนดการสอน
การกำหนดการสอนเป็นการเตรียมการสอนล่วงหน้าของผู้สอนในระยะยาว สำหรับวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยกำหนดเนื้อหาสาระที่จะต้องดำเนินการสอนในระยะเวลาต่าง ๆ เช่น การกำหนดการสอนตลอดทั้งปี ตลอดเทอม และตลอดสัปดาห์ ดังนั้นการกำหนดการสอนจึงอาจแบ่งได้ 3 ชนิดคือ
1. กำหนดการสอนรายปี
2. กำหนดการสอนรายภาค
3. กำหนดการสอนรายสัปดาห์
การกำหนดการสอนต้องคำนึงถึงกำหนดวันปิดและเปิดภาคเรียนวันหยุด วันสำคัญต่าง ๆ การหยุดเรียนในวันที่มีกิจกรรมพิเศษ ตลอดจน การกำหนด วันสอบย่อย สอบปลายเทอม การกำหนดการสอน เปรียบเสมือนการกำหนดตารางเวลา การดำเนินการสอนของผู้สอน การกำหนดเวลาและเนื้อหาสาระที่สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม โดยกำหนดเรื่องใดตอนใด ต้องสอนก่อนหลัง ใช้เวลาแต่ละเรื่องมากน้อยเท่าใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสอนทันตามกำหนดที่ต้องการ
การกำหนดการสอนนี้จะทำแบบรายปี รายภาค รายสัปดาห์ ก็สามารถจัดทำร่วมกันได้โดยจะเป็นรูปแบบอย่างไรก็ได้ตามความเหมาะสมและผู้สอนเห็นสมควร
หลักการทำกำหนดการสอน
ผู้สอนควรทำแผนการสอนของกรมวิชาการ หรือแผนการสอนแม่บทกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเขียนไว้เพียงย่อ ๆ หรือคร่าว ๆ มาพิจารณาหัวข้อเป็นหัวข้อย่อย บางหน่วยต้องเพิ่มเติมต้องนำไปทำแผนการสอนอย่างละเอียดอีกครั้ง ดังนั้นการทำกำหนดการสอนก็เพื่อให้ผู้สอนกำหนดแนวทางในการสอนตลอดปี หรือตลอดภาคการเรียนว่า จะสอนอย่างไรให้เนื้อหากับเวลาในการสอนสัมพันธ์กัน การทำกำหนดการสอนสามารถทำได้โดย
1. ผู้สอนที่สอนในระดับเดียวกันมาร่วมกันพิจารณาด้วย
2. ช่วยกันสำรวจจำนวนคาบที่จะสอนในแต่ละหน่วยว่าเหมาะสมหรือไม่
3. นำหัวข้อแต่ละหัวข้อย่อยมากำหนด ในการกำหนดการสอนโดยให้สัมพันธ์กับเวลาหรือจำนวนคาบที่ใช้สอนโดยพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
4. พิจารณาจำนวนคาบเวลาในแต่ละสัปดาห์ของแต่ละวิชาให้สัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างเวลาเรียนกับเนื้อหาแต่ละหัวข้อ
ตัวอย่างการกำหนดการสอน
การกำหนดการสอนกลุ่มสาระภาษาไทย
ช่วงชั้นที่ 1
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่
2 ปีการศึกษา 2559
สัปดาห์ที่
วันที่ เดือน ปี |
เรื่อง
|
จำนวนคาบ
|
1
19 พ.ค. 59 |
ปฐมนิเทศ
|
1
|
2 - 3
22 – 26 พ.ค. 59 |
พ่อแม่รังแกฉัน
กลอนสุภาพ การอ่านออกเสียงร้อยกรอง การถอดคำประพันธ์
|
5
|
3
29 – 30 พ.ค. 59 |
การเขียนย่อความ
|
2
|
3 – 4
31 พ.ค. 59 |
เครื่องหมายวรรคตอน
|
2
|
4
1 มิ.ย. 59 |
คำอุทาน
|
1
|
4 – 6
2 – 7 มิ.ย. 59 |
พระอภัยมณี กลอนสุนทรภู่
|
6
|
6
12 – 14 มิ.ย. 59 |
การแต่งกลอนสุภาพ
|
3
|
7
17 – 20 มิ.ย. 59 |
คำราชาศัพท์
|
4
|
8
21 – 22 มิ.ย. 59 |
คำนาม
|
2
|
8 – 9
23 – 30 มิ.ย. 59 |
นิทานเทียบสุภาษิต
โคลงสี่สุภาพ การเล่านิทาน สำนวน คำพังเพย สุภาษิต
|
6
|
9
3 - 7 ก.ค. 59 |
สอบกลางภาคเรียนที่ 2 / 2559
|
-
|
10
12 – 13 ก.ค. 59 |
การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
|
2
|
11
14 - 17 ก.ค. 59 |
คำสรรพนาม
|
2
|
11 – 12
18 - 19 ก.ค. 59 |
คำกริยา
|
2
|
12 – 13
20 – 28 ก.ค. 59 |
ข้อคิดเรื่องการบวช
การเขียนแสดงความคิดเห็น
|
4
|
13
1 – 3 ส.ค. 59 |
การเขียนจดหมายส่วนตัว
|
3
|
14
4 - 7 ส.ค. 59 |
คำวิเศษณ์
|
2
|
14 – 15
8 – 16 ส.ค. 59 |
ความดีที่ไม่รู้จักสิ้นสุด
การเล่าเรื่อง การเขียนย่อความ
|
6
|
16
17 – 18 ส.ค. 59 |
คำบุพบท
|
2
|
16 – 17
21 – 24 ส.ค. 59 |
ตาลโตนด การเขียนคำขวัญ
|
4
|
17
25 – 28 ส.ค. 59 |
คำสันธาน
|
2
|
18
29 ส.ค. – 1 ก.ย. 59 |
บทเสภาสมัคคีเสวก กลอนเสภา
|
4
|
19
4 – 5 ก.ย. 59 |
ทะเลบ้า
อุปมาโวหาร การเล่าประสบการณ์
|
2
|
19 – 20
11 – 15 ก.ย. 59 |
สอบปลายภาคเรียนที่ 2 / 2559
|
-
|
ประโยชน์ของการกำหนดการสอน
การทำกำหนดการสอนมีประโยชน์ ดังนี้
1. ใช้เป็นแนวทางในการทำแผนการสอน เพื่อใช้สอนได้สะดวก ผู้สอนสามารถเข้าใจและมองเห็นงานของตนได้ล่วงหน้าชัดเจน สามารถพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่เสมอ เป็นการคิดวางแผนไว้ล่วงหน้า ทำให้การสอนของผู้สอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างได้ผล
2. ช่วยให้การสอนเป็นไปตามหลักสูตร เหมาะสมกับผู้เรียน และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และชุมชนอยู่เสมอ
3. ทำให้การเปลี่ยนแปลงผู้สอนใหม่ การรับงานของผู้สอนใหม่ การประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ช่วยสอนกับผู้สอน การจัดผู้สอนแทน ฯลฯ เป็นไปด้วยดีไม่กระทบกระเทือนต่อผู้เรียนเกินไป
4. ช่วยให้ผู้บริหาร ผู้นิเทศ รู้ลู่ทางที่จะแนะนำ ตลอดจนให้ความร่วมมือสนับสนุนด้วยประการต่าง ๆ
5. ทำให้การประเมินผลสะดวก เป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ความหมายของแผนการสอน
แผนการสอนหรือในปัจจุบันใช้คำว่าแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งหมายถึงแนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน หรือแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายของการศึกษา ครูหรือผู้สอนอาจต้องปรับปรุงแผนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นได้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้โดยความคิดรวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้ หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นหลัก ดังนั้นในการทำแผนการสอน หรือในการปรับปรุงการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ดีผู้สอนจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดีในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเทคนิควิธี ตลอดจนการนำสื่อมาใช้ เป็นต้น
ลักษณะของแผนการสอนที่ดี
แผนการสอนที่ดีควรมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. มีความเหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา ตลอดจนปรัชญาของโรงเรียนด้วย
2. พิจารณากำหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับโรงเรียนและท้องถิ่น
3. มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับเวลา สภาพความต้องการ และความเป็นจริงของท้องถิ่นเพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจ และให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนยิ่งขึ้น
4. มีการจัดลำดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกัน พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่าให้สอดคล้องสัมพันธ์กันโดยตลอด
5. ควรมีการกำหนดกิจกรรมและประสบการณ์ คำนึงถึงวัยผู้เรียน สภาพแวดล้อม กาลเวลา ความสนใจของผู้เรียน รวมทั้งการใช้แหล่งวิทยาการในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์แก่การเรียนการสอนได้อย่างคุ้มค่า
องค์ประกอบของแผนการสอน
แผนการสอนโดยทั่วไปมีองค์ประกอบดังนี้
1. กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่จะสอน
2. หัวเรื่อง
3. ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ
4. จุดประสงค์หรือผลลัพธ์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
5. เนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้
6. กิจกรรมการเรียนการสอน
7. สื่อการเรียนการสอน
8. ประเมินผล
9. หมายเหตุ
รูปแบบของแผนการสอน
รูปแบบของแผนการสอนสามารถจัดกลุ่มตามลักษณะต่างๆได้ 2 ลักษณะดังนี้
1. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะการเขียน
2. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะของการใช้
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561
ในการวางแผนการสอนนั้น ผู้สอนหรือผู้วางแผนต้องศึกษารายละเอียดของข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำมาพิจารณาในการวางแผนการสอนข้อมูลเหล่านี้ได้แก่
1. สภาพปัญหาและทรัพยากร
เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนการสอนที่ผู้สอนรวบรวมได้จากการสำรวจปัญหา และตรวจสอบทรัพยากรในแง่กำลังคน งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้ผู้วางแผนกำหนดรูปแบบการสอน กิจกรรมการเรียนและสื่อการสอนได้ชัดเจนขึ้น
2. การวิเคราะห์เนื้อหา
เป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดเรื่องที่สอน โดยกำหนดเป็นระดับหน่วยใหญ่ที่อาจต้องสอนหลายครั้ง ระดับหน่วยย่อยที่เป็นปีกย่อยของหน่วยใหญ่ และระดับบทเรียนที่เป็นเนื้อหาของการสอน 1 ครั้ง สำหรับเนื้อหาของบทเรียนที่ต้องวิเคราะห์ออกเป็นหัวเรื่อง และหัวข้อย่อยเช่นเดียวกัน
3. การวิเคราะห์ผู้เรียน
เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับอายุ ระดับความพร้อม และความรู้เดิมของผู้เรียน ข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เรียนมีความจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับผู้เรียนในระดับต่าง ๆ
4. ความคิดรวบยอด
เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสาระ หรือแก่นของเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับ อาจเปรียบได้ง่าย ๆ กับการปรุงอาหารที่ต้องมีการกำหนดความสมดุลของสารอาหารที่ผู้บริโภคจะได้รับ โดยไม่คำนึงถึงกากหรือเนื้ออาหาร การสอนก็เช่นเดียวกัน ผู้สอนต้องกำหนดให้เด่นชัดก่อนว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับความคิดรวบยอดที่เป็นแก่นสารของเนื้อหาอะไรบ้าง
5. วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จ ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียน ที่ผู้สอนกำหนดไว้ การกำหนดวัตถุประสงค์ต้องมีทั้งวัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เฉพาะก็นิยมกำหนดไว้ในรูปวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
6. กิจกรรมการเรียน
เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ล่วงหน้า ว่าจะให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมการเรียนอะไรบ้าง โดยคำนึงถึงกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และกิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมการเรียนต้องจัดไว้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
7. สื่อการสอน
เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเช่นเดียวกัน โดยพิจารณากิจกรรมการเรียนเป็นหลัก
8. การประเมินผล
เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ว่าจะตรวจสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร ทั้งในส่วนที่เป็นพฤติกรรมเดิม(ความรู้ที่มีอยู่แล้ว) พฤติกรรมต่อเนื่อง (พฤติกรรมย่อยที่ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ไปทีละน้อย) และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (พฤติกรรมซึ่งผู้สอนคาดหมายไว้)
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
1. สภาพปัญหาและทรัพยากร
เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนการสอนที่ผู้สอนรวบรวมได้จากการสำรวจปัญหา และตรวจสอบทรัพยากรในแง่กำลังคน งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้ผู้วางแผนกำหนดรูปแบบการสอน กิจกรรมการเรียนและสื่อการสอนได้ชัดเจนขึ้น
2. การวิเคราะห์เนื้อหา
เป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดเรื่องที่สอน โดยกำหนดเป็นระดับหน่วยใหญ่ที่อาจต้องสอนหลายครั้ง ระดับหน่วยย่อยที่เป็นปีกย่อยของหน่วยใหญ่ และระดับบทเรียนที่เป็นเนื้อหาของการสอน 1 ครั้ง สำหรับเนื้อหาของบทเรียนที่ต้องวิเคราะห์ออกเป็นหัวเรื่อง และหัวข้อย่อยเช่นเดียวกัน
3. การวิเคราะห์ผู้เรียน
เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับอายุ ระดับความพร้อม และความรู้เดิมของผู้เรียน ข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เรียนมีความจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับผู้เรียนในระดับต่าง ๆ
4. ความคิดรวบยอด
เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสาระ หรือแก่นของเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับ อาจเปรียบได้ง่าย ๆ กับการปรุงอาหารที่ต้องมีการกำหนดความสมดุลของสารอาหารที่ผู้บริโภคจะได้รับ โดยไม่คำนึงถึงกากหรือเนื้ออาหาร การสอนก็เช่นเดียวกัน ผู้สอนต้องกำหนดให้เด่นชัดก่อนว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับความคิดรวบยอดที่เป็นแก่นสารของเนื้อหาอะไรบ้าง
5. วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จ ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียน ที่ผู้สอนกำหนดไว้ การกำหนดวัตถุประสงค์ต้องมีทั้งวัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เฉพาะก็นิยมกำหนดไว้ในรูปวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
6. กิจกรรมการเรียน
เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ล่วงหน้า ว่าจะให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมการเรียนอะไรบ้าง โดยคำนึงถึงกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และกิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมการเรียนต้องจัดไว้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
7. สื่อการสอน
เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเช่นเดียวกัน โดยพิจารณากิจกรรมการเรียนเป็นหลัก
8. การประเมินผล
เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ว่าจะตรวจสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร ทั้งในส่วนที่เป็นพฤติกรรมเดิม(ความรู้ที่มีอยู่แล้ว) พฤติกรรมต่อเนื่อง (พฤติกรรมย่อยที่ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ไปทีละน้อย) และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (พฤติกรรมซึ่งผู้สอนคาดหมายไว้)
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
การวางแผนการสอนเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการสอนที่ดี เพราะการวางแผนการสอน เป็นการเลือก และตัดสินใจเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการจัดเตรียมเนื้อหาโดยนำเนื้อหามาบูรณาการกัน ทำให้ง่ายต่อการศึกษาทำความเข้าใจ นอกจากนี้การวางแผนการสอนล่วงหน้านี้ ยังมีความจำเป็นในแง่ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจถึงจุดประสงค์ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจน และสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ผู้สอนมีโอกาสได้ทราบเจตคติและความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ทำให้สามารถเลือกวิธีสอนและการประเมินผลได้ถูกต้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้สอนไม่สามารถเข้าสอนได้ ผู้สอนท่านอื่นก็สามารถที่จะเข้าสอนแทนได้โดยง่าย
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการวางแผนการสอนไว้ดังนี้
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (หน้า68) ให้ความหมายของการวางแผนการสอนไว้ว่า การวางแผนการสอนเป็นกิจกรรมในการคาดคิดและการกระทำของครูก่อนที่จะเริ่มดำเนินการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่งนั่นเอง ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมาย การคัดเลือกเนื้อหา การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผล
วาสนา เพิ่มพูน (2542 หน้า 37) ให้ความหมายว่า การวางแผนการสอนเป็นการคิดล่วงหน้าอย่างรอบคอบ ว่าจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร เมื่อถึงเวลาจริงๆ ก็ดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดได้ ถ้าหากไม่ได้วางแผนการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้า ก็มักจะเกิดปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย เกิดการกลระหนลืมสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกิจกรรมที่ดำเนินไปนั้นไม่ดีเท่าที่ควร
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2543 หน้า 44) เสนอไว้ว่าการวางแผนการสอน เป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนที่เป็นการเตรียมการล่วงหน้าก่อนสอน โดยใช้ข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้จากการดำเนินงานตามระบบการสอน
จากคำจำกัดความของนักการศึกษาข้างต้น อาจสรุปได้ว่า การวางแผนเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างละเอียด เพื่อจะได้ดำเนินการเรียนการสอนได้ถูกต้องและตรงตามจุดประสงค์
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (หน้า68) ให้ความหมายของการวางแผนการสอนไว้ว่า การวางแผนการสอนเป็นกิจกรรมในการคาดคิดและการกระทำของครูก่อนที่จะเริ่มดำเนินการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่งนั่นเอง ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมาย การคัดเลือกเนื้อหา การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผล
วาสนา เพิ่มพูน (2542 หน้า 37) ให้ความหมายว่า การวางแผนการสอนเป็นการคิดล่วงหน้าอย่างรอบคอบ ว่าจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร เมื่อถึงเวลาจริงๆ ก็ดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดได้ ถ้าหากไม่ได้วางแผนการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้า ก็มักจะเกิดปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย เกิดการกลระหนลืมสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกิจกรรมที่ดำเนินไปนั้นไม่ดีเท่าที่ควร
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2543 หน้า 44) เสนอไว้ว่าการวางแผนการสอน เป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนที่เป็นการเตรียมการล่วงหน้าก่อนสอน โดยใช้ข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้จากการดำเนินงานตามระบบการสอน
จากคำจำกัดความของนักการศึกษาข้างต้น อาจสรุปได้ว่า การวางแผนเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างละเอียด เพื่อจะได้ดำเนินการเรียนการสอนได้ถูกต้องและตรงตามจุดประสงค์
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ในการจัดการเรียนการสอนนั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบซึ่งในแต่ละรูปแบบนั้นได้นำวิธีการจัดระบบการเรียนการสอนเข้ามาใช้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับการประกอบกิจการงานทั่ว ๆ ไป หากงานใดได้นำวิธีการจัดระบบการทำงานเข้าไปใช้แล้ว งานย่อมดำเนินไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การใช้วิธีการจัดระบบงานต่างๆรวมทั้งงานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนนี้ ส่วนใหญ่จะต้องเริ่มต้นจากการวางแผน ซึ่งการวางแผนการสอนหรือการวางแผนการจัดการเรียนรู้ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนที่เน้นการเตรียมการสอนล่วงหน้าก่อนสอนโดยศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วจึงเขียนเป็นแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบขั้นตอนต่าง ๆ ได้
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561
การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายฝ่ายร่วมมือกันพัฒนาและปรับปรุงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอนศึกษานิเทศพ่อแม่ผู้ปกครองชุมชนองค์กรสถาบันวิชาการหน่วยงานและสื่อมวลชน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 มาตราที่ 24 กำหนดบทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างชัดเจน
ในการจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องต่อไปนี้
1. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้
2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
3. ทฤษฎีพุทธินิยม
4. ทฤษฎีมนุษย์นิยม
1. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้
2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
3. ทฤษฎีพุทธินิยม
4. ทฤษฎีมนุษย์นิยม
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)