ในการออกแบบการเรียนการสอน ไม่ว่าจะออกแบบตามโมเดลของนักการศึกษาคนใด สิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ กลยุทธ์การเรียนการสอน (instructional strategies) คำว่า "กลยุทธ์" เป็นการรวมวิธีการ (methods) วิธีปฏิบัติ (procedures) และเทคนิคอย่างกว้าง ๆ ซึ่งครูใช้ในการนำเสนอเนื้อหาวิชาให้กับผู้เรียนและนำไปสู่ผลที่ได้รับที่มีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วกลยุทธ์รวมถึงวิธีปฏิบัติหรือเทคนิคหลาย ๆ อย่าง
กลยุทธ์การเรียนการสอนทั่วไป คือ การบรรยาย การอภิปรายกลุ่มย่อย การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การค้นคว้าในห้องสมุด การเรียนการสอนที่ช้สื่อ (mediated instruction) การฝึกหัดซ้ำ ๆ การทำงานในห้องปฏิบัติการ การฝึกหัด (coaching) การติวส์ (tutoring) วิธีอุปนัยและนิรนัย การใช้บทเรียนสำเร็จรูป การแก้ปัญหา และการตั้งคำถาม อาจเป็นการเพียงพอที่จะกล่าวว่า ครูเป็นการเพียงพอที่จะกล่าวว่า ครูเป็นผู้ที่มีกลยุทธ์การสอนของตนเอง
ครูตกลงใจอย่างไรนการเลือกกลยุทธ์การเรียนการสอน ครูอาจจะพบได้ในคู่มือหลักสูตร ซึ่งไม่เพียงแต่จะให้กลยุทธ์ที่จะใช้เท่านั้น แต่มีจุดประสงค์ด้วย และเป็นที่น่าเสียดายว่าในคู่มือหลักสูตรไม่ได้มีหัวข้อเรื่องที่ครูต้องการเน้นปรากฏอยู่ด้วย และบ่อยครั้งแม้ว่าจะมีอยู่และหาได้ แต่ก็ไม่เหมาะกับความมุ่งหมายของครูและนักเรียน ผลก็คือ ครูต้องอาศัยดุจพินิจทางวิชาชีพและเลือกกลยุทธ์ที่จะใช้เอง การเลือกกลยุทธ์การสอนจะมีปัญหาน้อย เมื่อครูจำได้ว่ากลยุทธ์การสอนมาจากแหล่งสำคัญ 5 แหล่ง คือ จุดประสงค์ เนื้อหาวิชา นักเรียน ชุมชน และตัวครูเอง
เนื้อหาในบทนี้ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ คือ
- สภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ
- ความต้องการทฤษฎีการเรียนการสอน
- ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน
- ทฤษฎีการเรียนการสอน
- หลักการเรียนรู้
- การวิจัยการเรียนรู้
- ความเข้าใจผู้เรียนแะการเรียนรู้
- การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น