วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561

 
         สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 4-5) ที่ได้สรุปถึงความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้หรือปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาซึ่งสามารถสังเคราะห์ได้ดังนี้
         1. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทยการปฏิรูปวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่จะช่วยพัฒนาคนไทยให้เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรมตัวหลักในคุณค่าของตนเองผู้อื่นและสรรพสิ่งทั้งหลายรู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในคลองลองแห่งความดีงามรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเป็นคนมีเหตุผลยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น เคารพกติกาของสังคมมีความขยันซื่อสัตย์และเสียสละเพื่อส่วนรวมมีความสามารถในการใช้ศักยภาพของสมองได้ทั้งซิกซ้ายและซีกขวาอย่างได้สัดส่วนสมดุลย์กันคือความสามารถในด้านการใช้ภาษาสื่อสารการคำนวนการวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์คิดเป็นระบบสามารถใช้สติ ปัญญาอย่างเฉลียวฉลาดลึกซึ้งเพื่อเรียนรู้ให้บรรลุความจริงความดีความงามของสรรพสิ่งเป็นคนที่มีสุขภาพกายดีมีวุฒิภาวะทางอารมณ์บุคลิกภาพ ร่าเริงแจ่มใสจิตใจอ่อนโยนและเกื้อกูลมีมนุษย์สัมพันธ์ดีเผชิญหน้าและแก้ปัญหาได้ดำรงชีวิตอย่างอิสระและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
         2. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทยให้สมาชิกของสังคมมีจิตสำนึกร่วมกันในการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหาของส่วนรวมมีการบริหารอย่างถูกต้องแยบยลลดความขัดแย้งทุกคนมีความรับผิดชอบที่จะนำพาสังคมให้ก้าวหน้าและเข้มแข็ง
         3. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่วิทยาการเจริญรุดหน้าความรู้และสอบวิทยาการเดินทางไปในที่ต่างๆด้วยความรวดเร็วข้อมูลและข่าวสารต่างๆเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียนต้องมีความคล่องแคล่วไฟการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่นคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตและรู้จักสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตของตนครอบครัวสังคมและประเทศชาติ
         4. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนการปฏิรูปการเรียนรู้จะเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนพ่อแม่ผู้ปกครองและสังคมไทยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 ต้นการเปิดแนวทางให้ครูพ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชนมีอิสระในการอบรมเลี้ยงดูในการศึกษาจัดหลักสูตรอันจะเป็นการเกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน
         5. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 จึงเป็นภารกิจที่มีกฎหมาย


ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น